การส่งสิ่งส่งตรวจ
การส่งสิ่งส่งตรวจที่ต้องมีเงื่อนไขเป็นพิเศษ
การส่งสิ่งส่งตรวจมายังห้องปฏิบัติการควรนำส่งด้วยความรวดเร็วโดยทั่วไปไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมงหลังเจาะเลือดอย่างไรก็ตามมีการ ส่งตรวจบางการทดสอบที่ต้องระมัดระวังในการส่งสิ่งส่งตรวจมายังห้องปฏิบัติการเป็นพิเศษดังนี้
สถานที่รับสิ่งส่งตรวจ
ห้องปฏิบัติการภาควิชาพยาธิวิทยาคลินิกอาจทำการปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ ในกรณีที่เห็นว่าการตรวจทางห้องปฏิบัติการในสิ่งส่ง ตรวจดังกล่าว อาจให้ค่าที่เชื่อถือไม่ได้และเกิดผลเสียในการแปลผลการทดสอบ โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับสิ่งส่งตรวจจะโทรศัพท์แจ้งบุคลากร ทางการแพทย์ที่ส่งสิ่งส่งตรวจนั้นมาพร้อมทั้งบันทึกในคอมพิวเตอร์ LIS ถ้าผู้ส่งตรวจยังยืนยันที่จะทำการทดสอบ ห้องปฏิบัติการจะทำ การตรวจและ พิมพ์รายละเอียดสภาพที่ไม่เหมาะสมของสิ่งส่งตรวจนั้น ๆ ลงในคอมพิวเตอร์ LIS ซึ่งจะปรากฏในใบรายงานผลเกณฑ์ การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจ มีดังนี้
- |
การติดป้ายสิ่งส่งตรวจไม่ถูกต้อง |
|
1. |
ชื่อ - นามสกุลในใบส่งตรวจไม่ตรงกับชื่อ - นามสกุลที่ติดบนภาชนะสิ่งส่งตรวจนั้น |
2. |
ไม่ติดป้ายชื่อ - นามสกุล บนภาชนะสิ่งส่งตรวจ |
|
- |
การส่งสิ่งส่งตรวจ โดยไม่มีใบขอตรวจ |
- |
สิ่งส่งตรวจที่เก็บในภาชนะที่ไม่ถูกต้อง หรือ ใช้สารกันเลือดแข็งที่ไม่ถูกต้อง ตามที่ห้องปฏิบัติการกำหนด |
- |
สิ่งส่งตรวจหกเลอะภาชนะที่เก็บสิ่งส่งตรวจ หรือใบขอตรวจ |
- |
ปริมาณสิ่งส่งตรวจไม่เพียงพอ |
- |
คุณภาพของสิ่งส่งตรวจไม่ได้มาตรฐาน ดังนี้ |
|
1. |
สิ่งส่งตรวจที่ส่งถึงห้องปฏิบัติการช้ากว่ากำหนดเวลาที่ห้องปฏิบัติการกำหนด |
2. |
สิ่งส่งตรวจที่ clot ในการตรวจที่ต้องใช้ whole blood หรือ plasma ได้แก่ CBC, ESR, PT, APTT, HbA 1c, Blood gas, Homocysteine, Lactate |
3. |
สิ่งส่งตรวจที่มี hemolysis ในการตรวจบางอย่าง ได้แก่ AST, ALT, Calcium, CPK, Creatinine, LDH, Magnesium, Phosphorus, Potassium, Transferrin และ Troponin-I |
4. |
ปริมาณสิ่งส่งตรวจไม่ได้สัดส่วนกับสารกันเลือดแข็งตัวในหลอดเก็บเลือด |
5. |
สิ่งส่งตรวจนำส่งโดยอุณหภูมิไม่เหมาะสม เช่น Lactate, Blood gas |
|
|