Magnesium (Mg)

 

การทดสอบ

:

Magnesium (Mg)

ข้อบ่งชี้ในการส่งตรวจ (indication)

:

Magnesium เป็นสารที่มีอยู่มากในร่างกาย ในกระดูกมี Magnesium อยู่ร่วม กับ แคลเซียม และ ฟอสฟอรัส อยู่ถึง 50% ซึ่งส่วนมากจะอยู่ในเซล มีส่วน น้อยที่อยู่นอกเซล หน้าที่ของ Magnesium จะเป็นตัวกระตุ้นการทำงานต่างๆ ในร่างกาย รวมถึงการเติมฟอสเฟต, การสร้างโปรตีน และการบวกการเผา ผลาญของ DNA นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบประสาท และระบบกล้ามเนื้อด้วย Magnesium ถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก การดูดซึมจะขึ้น กับปริมาณที่รับประทาน ไตจะเป็นส่วนที่ทำการควบคุมปริมาณของ Magnesium และทำการดูดกลับในส่วนท่อไต ในกรณีที่ทาน Magnesium น้อย และในกรณีที่ทาน Magnesium มากจะมีการขับถ่ายออกทางไต

ในกรณีที่มีปริมาณของ Magnesium ในซีรัมสูง เกิดจากภาวะ ไตล้มเหลว, ภาวะ Acute Acidosis ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน, ภาวะขาดน้ำ หรือ โรค Addison’s เป็นต้น ภาวะที่มีปริมาณ Magnesium สูง จะกดระบบประสาท ส่วนกลาง ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการชา และการล้มเหลวของระบบหายใจ และ ระบบการทำงานของหัวใจ

ในกรณีที่มีปริมาณของ Magnesium ในซีรัมต่ำ สามารถพบได้ในผู้ที่ติดแอล กอฮอล์, ผู้ที่มีภาวะของการดูดซึมในระบบทางเดินอาหารลดลง, ภาวะท้องเสีย อย่างรุนแรง, ตับอ่อนอักเสบแบบเฉียบพลัน, ผู้ที่รับประทานยาขับปัสสาวะ, ผู้ที่ทำการรักษาโดยการให้อาหารที่ขาด Magnesium เป็นเวลานาน, ภาวะที่ไต ไม่ทำงาน เช่น ภาวะกรวยไตอักเสบ หรือมีผลกับการดูดกลับที่ท่อไต นอกจาก นี้อาจพบในผู้ติดเชื้อบาดทะยัก และภาวะที่การเต้นของหัวใจ

การเตรียมผู้ป่วย (patient preparation)

:

ไม่มี

สิ่งส่งตรวจ (specimen) ปริมาณและ ภาชนะที่ใช้เก็บ (collection  medium)

:

1.) เลือด ปริมาณ  4-6  มิลลิลิตร ใส่หลอดเก็บเลือดที่มีสารกันเลือดแข็งชนิด lithium  heparin
2.) ปัสสาวะ ปัสสาวะเก็บ 24 ชั่วโมงใส่ในภาชนะที่ไม่มีการปนเปื้อนของโลหะ หนัก, no preservative 
     และใส่กรดไฮโดรคลอริก (12M HCl) จำนวน 10 มิลลิลิตรเพื่อป้องกันการ ตกตะกอนของแมกนีเซียม

การส่งสิ่งส่งตรวจและข้อควรระวัง 
(handling)

:

การส่งสิ่งส่งตรวจต้องมาถึงห้องปฏิบัติการภายใน 2 ชั่วโมงเพื่อทำการแยก พลาสมาออกจากเม็ดเลือดแดงโดยเร็วพราะการแยกช้าจะทำให้แมกนีเซียม ออกจากเม็ดเลือดแดงทำให้ค่าที่ได้สูงขึ้น

วันและเวลาทำการตรวจ 
(testing  schedule)

:

ทุกวัน และตลอด 24 ชั่วโม

การประกันเวลาการทดสอบ (TAT)

:

1 ชั่วโมง

การรายงานผล

:

รายงานเป็นค่ามีหน่วยเป็น mIU/mL โดยใช้ค่าอ้างอิง (reference values)

- พลาสมา : 1.6 - 2.6  mg/dL             
- ปัสสาวะ : 4.10 - 13.80 mg/dL

ค่าตรวจ (charge)

:

 

วิธีการวิเคราะห์ (methodology)

:

Colorimetric endpoint method

สิ่งรบกวนต่อการวิเคราะห์ 
(interference)

:

Serum/Plasma

- Icterus: ระดับ I index น้อยกว่า 60 สำหรับ Conjugated bilirubin  และ Unconjugated bilirubin        เทียบเท่าความเข้มข้น     £  1026 umol/L (60 mg/dl  ) ไม่รบกวนการตรวจวิเคราะห์

- Hemolysis: ระดับ H index  1000 หรือเทียบเท่า  Hemoglobin ความเข้ม ข้น £  621 umol/L (1000 mg/dl)  ไม่รบกวนการตรวจวิเคราะห์อย่างมีนัย สำคัญ   เนืองจากในเม็ดเลือดแดงมีปริมาณ Magnesium สูงกว่า ใน serum ดังนั้นจึงควรระวังสิ่งส่งตรวจที่มีการปนเปื้อนของเม็ดเลือดแดงเพราะอาจทำ ให้ตรวจวัดค่า Magnesium สูงเกินจริงได้

- Lipimia:  Intralipid ที่มีระดับ L index น้อยกว่า 1700  ไม่รบกวนการตรวจ วิเคราะห์ ( L index  ใช้การวัดความขุ่น ซึ่งจะไม่มีความสัมพันธ์กับปริมาณ Triglyceride ในเลือด ).

- ไม่พบการรบกวนของ Drug เมื่อทำทดสอบด้วย Common drug panels ยกเว้น Levodopa และ intralipid (2000 mg/L) ในระดับที่ใช้ในการรักษา จะทำให้ค่าที่ตรวจวัดได้สูงเกินจริง

ใน rare case ของ gammopathy โดยเฉพาะ IgM type (Waldenström’s macroglobulinemia) อาจส่งผลให้ผลการตรวจวิเคราะห์ไม่น่าเชื่อถือ

ระยะเวลาที่สามารถขอตรวจเพิ่มได้
(time limit for requesting additional test ) 

:

ถ้าต้องการขอตรวจเพิ่มระดับแมกนีเซียมควรเจาะเลือดมาใหม่จะได้ค่าที่น่าเชื่อ ถือมากกว่า  เพราะเนื่องจากการเก็บเลือดที่ห้องปฏิบัติการเป็นแบบ primary tube ซึ่งไม่ได้ทำการแยกพลาสมาออกจากเม็ดเลือดแดง จึงทำให้การตรวจได้ ค่าที่สูงกว่าความเป็นจริง

อื่นๆ  (Comment )

:

ไม่มี

 

TOP