การทดสอบ |
: |
Phosphorus |
ข้อบ่งชี้ในการส่งตรวจ
(indication) |
: |
Phosphate เป็นแร่ธาตุที่พบเป็นส่วนใหญ่ในร่างกาย ประมาณ 88 % พบที่ กระดูกในรูปของ calcium Phosphate ที่เรียกว่า apatite Ca2+[Ca3 (PO4)2]32
-นอกเหนือจากนั้นจะทำหน้าที่ในกระบวนการเผาผลาญ Carbohydrate และ เป็นองค์ประกอบของสารชีวภาพที่สำคัญหลายชนิด เช่น Phospholipid, nucleic acid และ ATP เป็นต้น
Phosphorous ที่พบอยู่ในเลือด จะอยู่ในรูป inorganic phosphate และ organically bound phosphoric acid นอกจากนั้นยัง พบว่ามี extracellular organic phosphate ในปริมาณน้อยมากที่อยู๋ใน รูปของ phospholipids เกือบทั้งหมด
อัตราส่วนของ Phosphorous ต่อ Calcium ในเลือดของคนปกติจะ อยู่ที่ประมาณ 6:10 ค่า Phosphorous ที่สูงขึ้น มีสาเหตุมาจากค่า Calcium ที่ลดต่ำลง ซึ่งกลไกนี้จะถูกควบคุมโดย Parathyroid Hormone และ vitamin D ในภาวะ Hypoparathyroidism ,vitamin D intoxication และ ภาวะไตวายที่ส่งผลให้การกรอง Phosphorous ลดต่ำลง ทำให้เกิด Hyperphosphatemia ได้ ส่วนภาวะ Hypophosphotemia จะพบได้ใน คนไข้ โรคกระดูกอ่อน (Rickets), Hyperparathyroidism และ Fanconi’s syndrome |
การเตรียมผู้ป่วย
(patient preparation) |
: |
1.) ผู้ป่วยควรอดอาหารอย่างน้อย 12 ชั่วโมง เพราะอาหารมีผลต่อระดับฟอส ฟอรัสในเลือด
2.) ผู้ป่วยควรมาเจาะเลือดในเวลา 8.00 - 10.00 น. เนื่องจากระดับฟอสฟอรัส เปลี่ยนแปลงตามเวลาในแต่ละช่วง (circadian variation) |
สิ่งส่งตรวจ (specimen) ปริมาณและ ภาชนะที่ใช้เก็บ
(collection medium) |
: |
1.) เลือด ปริมาณ 4-6 มิลลิลิตร ใส่หลอดเก็บเลือดที่มีสารกันเลือดแข็งชนิด lithium heparin
2.) ปัสสาวะ เก็บ 24 ชั่วโมง ใส่ในภาชนะที่ไม่มีการปนเปื้อนของโลหะหนัก เก็บในตู้เย็น และใส่กรดไฮโดรคลอริก (6 M HCl) จำนวน 10 มิลลิลิตรเพื่อ ป้องกันการตกตะกอนของฟอสฟอรัส |
การส่งสิ่งส่งตรวจและข้อควรระวัง
(handling) |
: |
รีบส่งตรวจทันทีภายใน 2 ชั่วโมงเพื่อทำการแยกพลาสมาออกจากเม็ดเลือด แดงโดยเร็ว เพราะการแยกช้าจะทำให้ฟอสฟอรัสออกจากเม็ดเลือดแดงทำให้ ค่าที่ได้สูงขึ้น |
วันและเวลาทำการตรวจ
(testing schedule) |
: |
ทุกวัน และตลอด 24 ชั่วโมง |
การประกันเวลาการทดสอบ (TAT) |
: |
1 ชั่วโมง |
การรายงานผล |
: |
รายงานเป็นค่ามีหน่วยเป็น mg/dL โดยใช้ค่าอ้างอิง (reference value)
- พลาสมา :2.7-4.5 mg/dL
- ปัสสาวะ (morning urine) : 40-136 mg/dL
- ปัสสาวะ (24 hour. urine) : 400-1300 mg/24 hr หรือ 27-87 mg/dL |
ค่าตรวจ (charge) |
: |
|
วิธีการวิเคราะห์ (methodology) |
: |
Modification of the classical phosphomolybdate method by Fiske and Subbarow |
สิ่งรบกวนต่อการวิเคราะห์
(interference) |
: |
- Icterus: ระดับ I index น้อยกว่า 40 สำหรับ Conjugated bilirubin และ 60 สำหรับUnconjugated bilirubin เทียบเท่าความเข้มข้น Conjugated bilirubin £ 684 umol/L (40 mg/dl) และ Unconjugated bilirubin £ 1026 umol/L (60 mg/dl ) ไม่รบกวนการตรวจวิเคราะห์
- Hemolysis: ระดับ H index > 300 หรือเทียบเท่า Hemoglobin ความเข้มข้น 186 umol/L (300 mg/dl) จะรบกวนการตรวจ วิเคราะห์เนื่อง จากในเม็ดเลือดแดงจะมี phosphorous อยู่จึงทำให้ค่าที่ตรวจวัดได้สูงเกินจริง
- Lipimia: Intralipid ที่มีระดับ L index น้อยกว่า 1250 ไม่รบกวนการตรวจ วิเคราะห์ ( L index ใช้การวัดความขุ่นซึ่งจะไม่มีความสัมพันธ์กับปริมาณ Triglyceride ในเลือด ).
- ไม่พบการรบกวนของ Drug เมื่อทำทดสอบด้วย Common drug panels ใน rare case ของ gammopathy โดยเฉพาะ IgM type (Waldenström’s macroglobulinemia) อาจส่งผลให้ผลการตรวจวิเคราะห์ไม่น่าเชื่อถือ |
ระยะเวลาที่สามารถขอตรวจเพิ่มได้
(time limit for requesting additional test ) |
: |
ถ้าต้องการขอตรวจเพิ่มระดับฟอสฟอรัสควรเจาะเลือดมาใหม่จะได้ค่าที่น่าเชื่อ ถือมากกว่าเนื่องจากการเก็บเลือดที่ห้องปฏิบัติการเป็นแบบ primary tube ซึ่ง ไม่ได้ทำการแยกพลาสมาอกจากเม็ดเลือดแดงจึงทำให้การตรวจได้ค่าที่สูงกว่า ความเป็นจริง |
อื่นๆ (Comment ) |
: |
ไม่มี |