Total calcium

 

การทดสอบ

:

Total calcium

ข้อบ่งชี้ในการส่งตรวจ (indication)

:

Calcium เป็นแร่ธาตุที่พบมากที่สุดในร่างกาย ประมาณ 99% พบเป็นองค์ ประกอบของกระดูกในรูปของ Hydroxyapatite ส่วนที่เหลือพบ ได้ในเนื้อ เยื่อต่างๆ และของเหลวนอก เซลล์การทำงานของ calcium นอกเหนือ จากการเกี่ยวข้องกับกระดูกแล้ว ยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด, การเหนี่ยวนำระบบประสาทกล้ามเนื้อ, กระตุ้นการทำงานของกระดูกและ กล้ามเนื้อหัวใจ, กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ละการคงความยืดหยุ่น และความสามารถในการผ่านเข้าออกของสารน้ำของ เซลล์เมมเบรน

ระดับของ calcium ในซีรัมและในร่างกายทั้งหมดเชื่อว่าถูกควบคุมโดย   Parathyroid hormone (PTH), Calcitonin และ Vitamin D การทำงาน ไม่สมดุลของทั้ง 3 ตัวนี้ จะทำให้ระดับของ calcium ในซีรัมและในร่าง กายผิดปกติ PTH หรือ Vitamin D สูง มีผลทำให้เกิด Hypercalcemia calcium ในเลือดสูงพบในโรค Multiple Myeloma และโรคมะเร็งอื่นๆ ภาวะ Hypocalcemia อาจพบได้ใน  Hypoparathyroidism, Steatorrhea, Nephrosis และ Pancreatitis

การเตรียมผู้ป่วย (patient preparation)

:

1.)  ผู้ป่วยอดอาหารก่อนการเจาะเลือดอย่างน้อย 4 ชั่วโมงเพราะอาหารมี ผลต่อระดับ แคลเซียมในเลือด
2.)  ผู้ป่วยควรมาเจาะเลือดในเวลา 8.00 - 10.00 น. เนื่องจากระดับแคล เซียมเปลี่ยนแปลงตามเวลาในแต่ละช่วง (circadian variation)
3.)  นั่งพักก่อนทำการเจาะเลือดอย่างน้อย 10 นาที เพราะระดับแคลเซียม จะเพิ่มสูงขึ้น  หลังทำกิจกรรม
4.)  ท่าที่เหมาะสมต่อการเจาะเลือดคือท่านั่ง และผู้ป่วยควรนั่งอย่างน้อย 5 นาทีก่อนเจาะเลือด เพราะแคลเซียมส่วนใหญ่จับกับโปรตีน การเจาะ ท่าทางที่แตกต่างกันจะทำให้ค่าที่ได้แตกต่างกัน

สิ่งส่งตรวจ (specimen) ปริมาณและ ภาชนะที่ใช้เก็บ (collection  medium)

:

1.)  เลือด ปริมาณ 4-6 มิลลิลิตร ใส่หลอดเก็บเลือดที่มีสารกันเลือดแข็ง ชนิด  lithium  heparin (ฝาสีเขียว)
2.)  ปัสสาวะ - ปัสสาวะเก็บ 24 ชั่วโมงใส่ในภาชนะที่ไม่มีการปนเปื้อน ของโลหะหนัก และใส่กรดไฮโดรคลอริก (6M HCl) จำนวน 10 มิลลิลิตร เพื่อป้องกันการตกตะกอนของแคลเซียม 

การส่งสิ่งส่งตรวจและข้อควรระวัง 
(handling)

:

รีบส่งตรวจทันทีภายในเวลา 1 ชั่วโมงเพื่อทำการแยกพลาสม่าออกจาก  เม็ดเลือดแดงโดยเร็ว เพราะการแยกช้าจะทำให้ค่าแคลเซียมลดลง

วันและเวลาทำการตรวจ 
(testing  schedule)

:

ทุกวัน และตลอด 24 ชั่วโมง

การประกันเวลาการทดสอบ (TAT)

:

1 ชั่วโมง

การรายงานผล

:

รายงานเป็นค่ามีหน่วยเป็น mg/dL โดยใช้ค่าอ้างอิง (reference values)
       - พลาสมา  : 8.6 – 10.2 mg/dL
       - ปัสสาวะ (24 hour urine) : 100-321  mg/24 hr  หรือ 6.8 -21.3 mg/dLL

ค่าตรวจ (charge)

:

 

วิธีการวิเคราะห์ (methodology)

:

Modification of the calcium o – cresolphthalein complexone (OCPC)   reaction by Schwartzenbach 

สิ่งรบกวนต่อการวิเคราะห์ 
(interference)

:

- Icterus: ระดับ I index น้อยกว่า 60 สำหรับ Conjugated bilirubin  และ Unconjugated bilirubin เทียบเท่าความเข้มข้น  £  1026 umol/L (60 mg/dl)  ไม่รบกวนการตรวจวิเคราะห์

- Hemolysis: ระดับ H index น้อยกว่า 1000 หรือเทียบเท่า  Hemoglobin ความเข้มข้น £ 621 umol/L (1000 mg/dl) ไม่รบกวนการ ตรวจวิเคราะห์

- Lipimia:  Intralipid ที่มีระดับ L index น้อยกว่า 2000 ไม่รบกวนการ ตรวจวิเคราะห์ ( L index  ใช้การวัดความขุ่น ซึ่งจะไม่มีความสัมพันธ์กับ ปริมาณ Triglyceride ในเลือด ).

- Intravenous สำหรับ MRI (Magnetic Resonance ) จะมี Chelating complex ทำให้รบกวนการตรวจวัด

- ในผู้ป่วยที่ได้รับ Gadodiamide (GdDTPA-BMA) จะมีผลให้ปริมาณ Calcium  ลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว

- ไม่พบการรบกวนของ Drug เมื่อทำทดสอบด้วย Common drug panels ยกเว้น ยา Strontium salt จะมีผลให้ค่า calcium สูงอย่างมีนัยสำคัญ

- ใน rare case ของ gammopathy โดยเฉพาะ IgM type (Waldenström’s  macroglobulinemia) อาจส่งผลให้ผลการตรวจ วิเคราะห์ไม่น่าเชื่อถือ

URINE

ไม่พบการรบกวนของ Drug เมื่อทำทดสอบด้วย Common drug panels ยกเว้น ยา   Strontium salt จะมีผลให้ค่า calcium สูงอย่างมีนัยสำคัญ

ระยะเวลาที่สามารถขอตรวจเพิ่มได้
(time limit for requesting additional test ) 

:

ถ้าต้องการขอตรวจเพิ่มระดับแคลเซียมควรเจาะเลือดมาใหม่จะได้ ค่าที่น่า เชื่อถือมากกว่า เนื่องจากการเก็บเลือดที่ห้องปฏิบัติการเป็นแบบ primary tube ซึ่งไม่ได้ทำการแยกซีรั่มหรือ พลาสมาออกจากเม็ดเลือดแดงจึงทำให้ การตรวจได้ค่าที่ต่ำกว่าความเป็นจริง

อื่นๆ  (Comment )

:

1.) การส่งตรวจระดับแคลเซียม (total calcium) ทุกครั้งควรเจาะควบคู่ กับอัลบูมิน (albumin) ทุกครั้งเนื่องจากแคลเซียมในกระแสเลือดส่วน ใหญ่จะจับอยู่กับอัลบูมิน และมีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อการจับของ แคลเซียมกับโปรตีน หรือ แร่ธาตุอื่น ๆ  จะทำให้การวัดที่ได้ไม่ถูกต้อง เมื่อมีความผิดปกติของ albumin เกิดขึ้น หรือเมื่อ  pH เปลี่ยนแปลงวิธี นี้จึงต้องมีการ correct ตามสูตรต่อไปนี้ corrected total Ca ( mg/dL )  = total Ca ( mg/dL ) + 0.8( 4-albumin [ g/dL ] )
2.) ห้ามใส่เลือดในหลอดเก็บเลือดที่มีสารกันเลือดแข็ง EDTA, oxalate or citrate
3.) การรัดแขนเพื่อเจาะเลือดนานเกิน 1 นาที จะทำให้ค่า total calcium เพิ่มขึ้นไม่เกิน10%

 

TOP